ปัจจุบันธุรกิจประเภทค้าปลีก เช่น ร้านสะดวกซื้อ มินิมาร์ท ร้านโชห่วย ร้านขายของชำ ฯลฯ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แม้ว่าในสภาวะที่เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวเนื่องจาก Covid-19 แต่ธุรกิจค้าปลีกก็ยังคงได้รับความนิยมมาอย่างสม่ำเสมอ เพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อค่อนข้างน้อยได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อความนิยมสูง การแข่งขันก็ย่อมสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องมีกลวิธีต่าง ๆ เพื่อมัดใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด การปรับปรุงร้านจึงเป็นตัวเลือกแรก ๆ เนื่องจากร้านค้าขนาดเล็กถึงปานกลาง เน้นการเข้าถึงลูกค้า จึงต้องมีการชูจุดเด่นของตัวสินค้าที่ต้องการนำเสนอ การใช้อุปกรณ์ภายในร้านเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนด้วย

ชั้นวางสินค้า หนึ่งในตัวเลือกอันดับต้น เมื่อพูดถึงการปรับโฉมร้านใหม่หรือร้านจำพวกธุรกิจประเภทค้าปลีก ผู้ประกอบการควรเลือกใช้ชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับลักษณะสินค้า ชั้นวางสินค้าที่ดีและเหมาะสมกับลักษณะสินค้า เพราะนอกจากจะช่วยส่งเสริมให้สินค้าดูโดดเด่นสะดุดตา และน่าจับจ่ายแล้ว ยังช่วยแบ่งแยกหมวดหมู่สินค้า ทำให้ร้านดูดีมีระเบียบขึ้น และยังทำให้ลูกค้าเลือกซื้อของได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

InnHome Warehouse Shelf ชั้นวางของ ชั้นวางสินค้า ชั้นเหล็กวางสินค้า ชั้นเหล็กฉาก ชั้นวางหนังสือ ชั้นวางของอเนกประสงค์ 5 ชั้น แผ่นไม้ MDF รับน้ำหนักได้สูงถึง 300 กก. มีให้เลือก 2 สี ขาว / ดำ / 4 ขนาด
฿1,899.00
ชั้นวางของอเนกประสงค์ 5 ชั้น รับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 300 กิโลกรัม สามารถปรับระดับชั้นวางได้อิสระตามต้องการ แผ่นไม้ MDF ใช้งานได้ทั้ง 2 ด้าน
ร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือว่ามินิมาร์ท ถือเป็นอีกหนึ่งกิจการยอดนิยมในไทย เพราะไม่ว่าจะมีงบน้อยหรือมากก็เริ่มเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ ได้ ที่สำคัญกิจการนี้สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล (ขอเพียงแค่รู้แหล่งซื้อสินค้าราคาถูกเท่านั้น)
อีกอย่างยิ่งเมื่อเปิดร้านขายของชำในทำเลที่มีการแข่งขันน้อยแล้ว คุณยิ่งจะเห็นยอดขายเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งถ้าจะพูดจริง ๆ แล้ว เราก็เถียงไม่ได้เลยว่าทุกครั้งที่อยากซื้ออาหาร, ขนมขบเคี้ยว, เครื่องดื่ม หรือของใช้ส่วนตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ใคร ๆ ก็จะนึกถึงร้านขายของชำเป็นสิ่งแรก ๆ !
และหากคุณกำลังคิดจะเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ วันนี้เราก็มี 8 วิธีเด็ดให้ร้านคุณรุ่งและประสบความสำเร็จได้ไม่แพ้ร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่อย่าง 7-11, Big C หรือ Tesco Lotus มาฝากด้วย คือคุณจะต้องเริ่มต้นอย่างถูกต้องและวางแผนให้ครอบคลุมรอบด้าน แต่จะทำยังไงให้ขายดีมีกำไร? ไปดูพร้อมกันเลย!
1. ศึกษาตลาดเพื่อเตรียมพร้อมเปิดร้านขายของชำ
ไม่ว่าคุณจะมีโครงการเปิดร้านขายของชำ กำลังวางแผนเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ คิดจะเปิดร้านโชห่วยขนาดย่อม หรือว่าเปิดมินิมาร์ทขนาดเล็ก ขอบอกเลยว่าวงการนี้ถือว่ามีการแข่งขันสูงมาก แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินความสามารถของคนตั้งใจจริง
ดังนั้นสิ่งแรกที่คุณจะควรทำก็คือ ศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจตลาดเสียก่อน เช่น หากคิดจะเปิดร้านขายของชำในหมู่บ้านหรือพื้นที่ไหน ก็ต้องดูว่า คนในพื้นที่นั้นยังต้องการสินค้าประเภทใดบ้าง โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่ร้านขายของชำ มินิมาร์ท และร้านสะดวกซื้อทั่วไปมีบริการก็ได้แก่
- ขนมปัง – ขนมปังสอดไส้, แซนด์วิช, กะหรี่ปั๊บ ฯลฯ
- อาหารแห้ง – ข้าวสาร,บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ถั่วและผลไม้อบแห้ง ฯลฯ
- เครื่องดื่มสำเร็จรูป – ชา, กาแฟ, นมกล่อง, น้ำผลไม้ ฯลฯ
- เครื่องปรุงอาหาร – น้ำปลา, ซอสปรุงรส, ผงชูรส, น้ำตาล ฯลฯ
- ของใช้ส่วนตัว – แป้งฝุ่น, โฟมล้างหน้า, ครีมอาบน้ำ, โลชั่น ฯลฯ
- น้ำมันเติมรถจักรยานยนต์ – เบนซิน, E20, แก๊สโซฮอล์
นอกจากนี้ก็ยังมีสินค้าอีกมากมายที่นิยมขายในร้านโชห่วยและมินิมาร์ท เพราะฉะนั้นศึกษาตลาดให้ดีและเลือกสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในย่านนั้น ๆ เช่น หากคิดจะเปิดเปิดร้านขายของชำบ้านนอกหรือเปิดในหมูบ้านเล็ก ๆ คุณก็ต้องสังเกตว่าคนในหมู่บ้านจะต้องการสินค้าไหน ซึ่งส่วนมากจะเป็นสินค้าข้าวของเครื่องใช้จำเป็นทั้งนั้น แล้วมีสินค้าอะไรอีกที่คุณจะวางขายเพื่อเรียกลูกค้าเข้าร้าน ?
บอกเลยว่าแค่รู้จักศึกษาตลาดและเข้าใจความต้องการของลูกค้าในขั้นตอนเริ่มต้น ร้านขายของชำเล็ก ๆ ของคุณจะไปได้สวยยิ่งขึ้นแล้ว จำไว้ว่า เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง !

2. เปิดร้านขายของชำในรูปแบบที่ต้องการ
เราเชื่อว่าผู้ประกอบการมือใหม่กำลังตั้งคำถามนี้กันอยู่ เพราะการเปิดร้านขายของชำถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจดทะเบียนร้านหรือจดทะเบียนพาณิชย์ เพราะคุณต้องคำนึงถึงอนาคตของร้านขายของชำของคุณด้วย แต่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะคุณสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดร้านค้านี้แบบไหน คุณต้องการเป็นเจ้าของร้านคนเดียว ต้องการเปิดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งแต่ละแบบก็มีความแตกต่างกันดังนี้ :-
- กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) คือ กิจการที่ดำเนินการโดยเจ้าของคนเดียวทั้งหมด ข้อดีคือ จัดตั้งง่าย เจ้าของมีอิสระในการตัดสินใจ ข้อบังคับทางกฎหมายน้อย ไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการบริหารมาก และสามารถเลิกกิจการได้ง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือ อาจจะขาดความน่าเชื่อถือ หาเงินทุนยาก ไม่มีคนช่วยคิดและวางแผน เสียเปรียบภาษีอากร และก็อาจจะมีข้อจำกัดเมื่อต้องการขยายกิจการ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ (General Partnership) หรือ (Ordinary Partnership) คือ กิจการที่มีเจ้าของ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะคล้ายกับกิจการเจ้าของคนเดียว แต่หุ้นส่วนทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบในการชำระหนี้สินร่วมกัน สามารถเลือกได้ว่าจะจดทะเบียนหรือไม่จดก็ได้ แบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญแบบไม่ได้จดทะเบียน ไม่เป็นนิติบุคคล สามารถฟ้องร้องใครก็ได้เมื่อเกิดคดีความ และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นนิติบุคคลที่แยกจากหุ้นส่วน หากทรัพย์สินของห้างไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ จะฟ้องร้องในนามของห้างหุ้นส่วนก่อน แล้วค่อยฟ้องร้องในหุ้นส่วนต่อไป
- หุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องทะเบียน และหากมีการดำเนินการนิติกรรมใด ๆ จะต้องทำในนามของห้างหุ้นส่วน สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทเช่นกัน ได้แก่ หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิดชอบ คือรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน โดยหุ้นส่วนไม่มีสิทธิ์จัดการห้างหุ้นส่วน สามารถแสดงความคิดเห็นได้เท่านั้น ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้วไม่สามารถนำชื่อหุ้นส่วนชนิดจำกัดความรับผิดชอบมาตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน และหากหุ้นส่วนนี้ตายหรือล้มละลาย กิจการก็จะสามารถดำเนินการต่อไปได้ ส่วนแบบที่ 2 คือ หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิดชอบ คือ รับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัดจำนวน ต้องมีอย่างน้อย 1 คน ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิ์จัดการงานของห้างหุ้นส่วน
- บริษัทจำกัด (Limited Corporation) คือ กิจการที่เกิดจากการร่วมทุนของกลุ่มคนที่ทำธุรกิจร่วมกัน มีผู้ร่วมลงทุนอย่างน้อย 3 คน ทุนแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ที่เรียกว่า หุ้น และผู้ถือหุ้นสามารถโอนขายหรือโอนหุ้นให้กับผู้อื่นได้ ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถือ และเป้าหมายของกิจการชนิดนี้ก็คือการหากำไรมาแบ่งกัน ข้อดีคือ มีความน่าเชื่อถือมากกว่ากิจการที่มีเจ้าของคนเดียว บริษัทสามารถหาทุนเพิ่มในการขายหุ้น ส่วนข้อเสียคือ ขั้นตอนการจัดการค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เงินในการบริหารสูง ความลับเปิดเผยง่าย และอาจต้องจ้างคนนอกบริษัทเข้ามาช่วยงานในบางส่วน
3. ศึกษาเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนร้านขายของชำ
4. ดูว่าต้องใช้เงินทุนในการเปิดร้านขายของชำเท่าไหร่
งบในการเปิดร้านขายของชำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของร้านที่คุณต้องการเปิด เช่น
- หากไม่มีพื้นที่และต้องก่อสร้างใหม่ทั้งหมด งบเริ่มต้นก็อาจจะอยู่ที่ 100,000 บาท
- ถ้ามีพื้นที่อยู่แล้ว แค่ต้องจ่ายค่าสินค้าหมุนเวียนในร้าน ตุนสต๊อกสินค้า หรือตู้ทำความเย็นก็อาจจะเริ่มต้นที่ 50,000-80,000 บาท
- ถ้าต้องเช่าที่และซื้อสินค้ามาหมุนเวียนในร้าน ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 50,000-100,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำอีกทีว่า งบประมาณในการเปิดร้านขายของชำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน หากคุณวางแผนเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ และมีพื้นที่อยู่แล้วก็จะใช้งบน้อยหน่อย แต่ถ้าคิดจะเปิดร้านใหญ่และต้องไปเช่าที่หรือทำร้านใหม่ ก็ต้องมีเงินทุนหนาพอประมาณ
ดังนั้นถ้าจะให้ดีจริง ๆ คุณควรค่อย ๆ ลงทุนเปิดร้านขายของชำตามงบที่มีก่อนจะดีกว่า แล้วถ้าร้านไปได้สวยก็ค่อยขยายกิจการร้านของชำของคุณ จะได้ไม่เสี่ยงต่อการเจ๊ง ให้ค่อยเป็นค่อยไปเหมือนสุภาษิตที่ว่า ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม
5. เลือกทำเลที่ดีที่สุดในการเปิดร้านขายของชำ
นอกเหนือจากการเตรียมตัวและการเตรียมเอกสารในการเปิดร้านขายของชำแล้ว ทำเล ก็เป็นหนึ่งส่วนที่เรียกได้ว่าสำคัญที่สุดในการเปิดร้านที่ว่านี้ ซึ่งตามหลักแล้ว การเลือกทำเลที่ดีที่สุดในการเปิดร้านขายของชำ, ร้านโชห่วย, มินิมาร์ท หรือร้านค้าต่าง ๆ นั้นก็คือ
- อยู่ในพื้นที่ที่มีคนเดินผ่านทั้งด้านหน้าและด้านหลังร้าน เพื่อให้มองเห็นได้หลายมุมและเพิ่มโอกาสในการขาย
- ไม่ควรอยู่ในบริเวณทางสามแพร่ง ซึ่งทางโบราณเชื่อว่าเป็นทำเลที่ไม่ดีและตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว ทางสามแพร่งถือว่าไม่เป็นมงคลแก่การค้าขาย
- อยู่ใกล้กับร้านอื่น ไม่ควรอยู่โดด ๆ แต่ควรมีร้านค้าอื่น ๆ อยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย และจำไว้ว่าร้านขายของชำของคุณต้องอยู่ในแหล่งที่ผู้คนเข้าไปจับจ่ายใช้สอย
- มีที่จอดรถสำหรับลูกค้า อาจจะเป็นที่จอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเป็นที่ที่มีการคมนาคมสะดวกสบายก็ได้ ลองนึกดูว่าถ้าคุณเป็นลูกค้าเองและต้องเดินทางไปร้านที่ไม่มีที่จอดรถ ก็คงจะไม่อยากไปสักเท่าไหร่จริงไหมล่ะ ?
- อยู่ในทำเลที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย อาจจะเปิดในชุมชน ใกล้โรงเรียน ใกล้มหาลัย หรือพื้นที่ไหนก็ได้ แต่ขอให้มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายก็พอ
- ขยายพื้นที่ได้ ทำเลที่ดีจะต้องช่วยให้คุณขยายพื้นที่ร้านในอนาคตได้ด้วย เพราะเมื่อร้านขายของชำเล็ก ๆ ของคุณไปได้สวย ยังไงคุณก็อยากขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับลูกค้าแน่นอน

6. เลือกคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ร้านขายของชำอย่างชาญฉลาด
หากคิดจะเปิดร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือมินิมาร์ทให้รุ่ง คุณต้องบริหารจัดการร้านได้อย่างลื่นไหล คือ เริ่มจากคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ที่จะจัดส่งสินค้า หรือจะเป็นแหล่งรับซื้อสินค้ามาขายก็ได้ เพราะคุณต้องมีเครือข่ายคู่ค้าที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้ ถึงจะเปิดร้านขายของชำได้อย่างสบายใจ
ลองหาร้านขายส่ง แหล่งซื้อสินค้าที่ขายสินค้าราคาเป็นกันเอง หรือเลือกแหล่งขายส่งที่คุณเป็นลูกค้าสมาชิก เพื่อซื้อสินค้าในราคาสมาชิก จะได้ประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น และยิ่งเมื่อหาซัพพลายเออร์ที่อยู่ใกล้แล้ว คุณก็จะประหยัดค่าเดินทางและค่าขนส่งไปได้อีกต่อหนึ่ง ดังนั้นลองนำแนวคิดเหล่านี้ไปพิจารณาดู
หากพูดถึงแหล่งค้าส่งที่เจ้าของร้านค้า ร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือมินิมาร์ทนิยมไปซื้อสินค้ามาขายต่อในไทย ก็คงจะเป็น
- Big C
- Tesco Lotus
- Makro
นอกจากนี้ในเขตชุมชนก็อาจจะมีร้านขายส่งใกล้เคียงอยู่ก็ได้ ยังไงลองสำรวจพื้นที่ให้ดี แล้วก็เลือกคู่ค้าร้านขายของชำของคุณอีกที แล้วคุณจะรู้ว่าการมีซัพพลายเออร์ที่ไว้ใจได้นั้นสำคัญแค่ไหนในการเปิดร้านขายของชำหรือมินิมาร์ทของคุณ

ชั้นวางสินค้า ชั้นมินิมาร์ท ชั้นโฮมมาร์ท ชั้นวางของ เหล็กหนาพิเศษ
฿2,115.00
- สินค้าผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง เคลือบสี
- – รุ่นนี้จะมีเหล็ก(เป็นตาข่าย) ปิดทั้งหลังและข้าง เพื่อป้องกันสินค้าหลุดล่วง
- – มีแผ่นตะแกรงเหล็กกั้นสินค้าตกหล่นข้างหน้า
- – สามารถประกอบได้ง่ายๆ โดยใช้ไขควง
- – มีล้อเลื่อนเคลื่อนที่ได้
7. ต้องมีกลยุทธ์ที่ดีในการตั้งราคาสินค้าร้านขายของชำ
อีกหนึ่งปัญหาของคนที่เริ่มเปิดร้านขายของชำก็คือ ไม่รู้ว่าควรตั้งราคาสินค้ายังไงถึงจะถูกใจลูกค้า นั่นก็เพราะว่า . …
- หากคุณตั้งราคาสินค้าต่ำเกินไป ก็จะส่งผลต่อกำไรร้าน หรือเผลอ ๆ หากตั้งราคาผิดก็เสี่ยงต่อการขาดทุนไปเลย
- แต่ถ้าตั้งราคาสูงเกินไป ก็จะขายของไม่ออก ของแพงลูกค้าไม่อยากซื้อ
ดังนั้นทางร้านจะต้องมีกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าร้านขายของชำที่ดี จึงจะดึงดูดลูกค้าและช่วยให้ร้านขายดีไปพร้อม ๆ กันได้ อีกอย่างร้านคุณเองก็จะไม่เสียเปรียบคู่แข่งร้านอื่น ๆ !
แล้วหลักการในการตั้งราคาสินค้าสำหรับร้านขายของชำเบื้องต้น มีอะไรบ้าง ? เรารวมเทคนิคการตั้งราคาจากเจ้าของร้านขายของชำที่จะช่วยให้คุณขายดี มีกำไร และเป็นราคาที่ยุติธรรมสำหรับลูกค้ามาไว้เแล้วที่นี่ !
- ตั้งราคาสินค้าโดยใช้เกณฑ์กำไรที่ 10 – 20% – คิดราคาเพิ่ม 10 – 20% จากราคาทุนสินค้าที่ขายในร้านขายของชำ เพราะอย่าลืมว่าคุณมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ แล้วไหนจะมีค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก
- ไม่ควรขายสินค้าบางราคาแพงเกินไป – มีสินค้าบางรายการที่คุณต้องขายตามราคาที่ระบุไว้บนฉลากและไม่สามารถคิดราคาเพิ่มได้ เช่น เหล้า, บุหรี่, เครื่องดื่มชูกำลัง, น้ำอัดลม, เครื่องปรุงรส และการเติมเงินมือถือออนไลน์ เป็นต้น
- กรณีมีร้านขายของชำร้านอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง – ควรตั้งราคาสินค้าขายในราคาที่ใกล้เคียงกัน ไม่ควรตัดราคากัน เพราะเราก็ต้องเห็นใจผู้ประกอบการด้วยกันด้วย
- จับคู่สินค้าขายในราคาถูกลง – อันนี้ออกแนวจัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า เช่น 7-11 ก็มีโปรขายเครื่องดื่มกับขนมปังในราคาที่ถูกลง ช่วยให้ลูกค้าเป็นความคุ้มค่ามากขึ้น ก็ถือว่าเป็นไอเดียที่น่าลองเช่นกัน